นาฬิกา

สื่ออุปกรณ์

1. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

วิธีการใช้

1. นำเครื่องฉายมาวางหน้าชั้นเรียนในระยะห่างพอสมควร โดยหันด้านเลนศ์ฉายเข้าหาจอ
2. หากภาพใหญ่กว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายเข้าใกล้จอรับภาพ หากภาพเล็กกว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายออกห่างจากจอรับภาพ
3. เสียบปลั๊กไฟ 220 V. เข้ากับเต้าเสียบไฟบ้าน
4. เปิดสวิตช์พัดลมระบายอากาศ
5. เปิดสวิตช์หลอดฉาย
6. ปรับความคมชัดบนจอรับภาพ
7. ปรับมุมก้มเงยให้พอดี ปรับลำแสงให้ตั้งฉากกับจอรับภาพ แต่หากต้องการเลื่อนเครื่องฉายให้ปิดสวิตช์หลอดฉายก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันมิให้หลอดฉายขาด
8. ปิดสวิตช์หลอดฉายเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน แต่เปิดพัดลมระบายอากาศไว้จนกว่าเครื่องฉายจะเย็นลงแล้วประมาณ 5 นาที จึงปิดและถอดปลั๊กออกเพื่อเก็บเครื่องฉาย

การดูแลรักษา

1. ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องอย่างละเอียดก่อนใช้งาน2. ขณะใช้เครื่องฉาย ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเมื่อมีเด็กอยู่ใกล้3. ไม่ควรเปิด - ปิดสวิตช์หลอดฉายบ่อย เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของหลอดฉายสั้น
กว่าปกติ หรืออาจทำให้หลอดฉายขาดได้4. เครื่องฉายทุกชนิดมีความร้อน อย่าแตะต้องจุดที่มีความร้อนเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้5. สายไฟที่ใช้กับเครื่องฉายต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ขาดชำรุดหรือมีรอยขาดรั่ว6. ไม่แขวนสายไฟไว้ที่ขอบโต๊ะหรือวางสายไฟบนสิ่งที่มีความร้อน7. กรณีที่ใช้สายไฟต่อพ่วง ต้องใช้สายไฟที่มีขนาดพอเหมาะกับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ เครื่องต้องการใช้8. ก่อนดึงปลั๊กไฟออก ต้องแน่ใจว่าเครื่องฉายได้เปิดพัดลมระบายอากาศจนเครื่องเย็นลงจน เป็นปกติแล้ว9. อย่าให้เครื่องถูกน้ำ ละอองน้ำ ความชื้นและของเหลวทุกชนิดเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้า ลัดวงจร10. ไม่ควรถอดเครื่องซ่อมเองหรือแก้ไขเองหากขาดประสบการณ์

2.โปรเจคเตอร์

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าปกติอยู่ในสภาพการใช้งาน
2. เปิดเครื่องฉายโดยกดปุ่มที่ Power on
3. ทำการฉายภาพตามปกติ
4. การปิดเครื่องกดที่ปุ่มPower off โดยกด 2 ครั้งติดต่อกัน
5. รอให้เครื่องปิดจึงถอดปลั๊กได้
6. เก็บเครื่องฉายในกระเป๋าเก็บให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. คลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นจับเลนส์ และควรเก็บในที่ปลอดความชื้น
2. ทำความสะอาดเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสงด้วยกระดาษเช็ดเลนส์
3. ทำความสะอาดและหยอดน้ำมันแกนปรับหัวฉายและแกนมอเตอร์
4. ไม่ควรใช้เครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
5. เมื่อเลิกใช้ควรปิดสวิทช์หลอดฉายโดยไม่ถอดปลั๊กและปลอดให้พัดลมเครื่องทำงาน จึงเก็บเครื่อง

3. เครื่องเล่น CD VCD DVD

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบสภาพเครื่องเล่น CD VCD DVD อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟ
3. เปิดปุ่ม Power เพื่อทำการเปิดเครื่อง
4. ปรับสัญญาณภาพหรือเสียงให้ชัดเจน
5. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วปิดที่ปุ่ม Power
6. ถอดปลั๊กและเก็บวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อใช้เสร็จ ทิ้งให้เย็น และคลุมด้วยผ้าเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
2. หมั่นทำความสะอาดหัวอาดด้วยแปรงขนนุ่มปัดฝุ่น
3. ไม่ควรตั้งในที่อับชื้น
4. เครื่องขยายเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องขยายเสียงอยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบสายปลั๊กไฟ
3. เปิดสวิสท์ไฟที่ปุ่ม Power
4. ปรับเสียงสัญญาความดังตามที่ต้องการโดยปุ่ม Master จะปุ่มใหญ่สุดและควบคุมสัญญาเสียงออกทุกสัญญาณ
5. หากต้องการปรับเฉพาะไมล์ให้ปรับปุ่มสัญญาเล็ก
6. เมื่อใช้งานเสร็จให้ปรับปุ่มสัญญาณ Master ลงสุด
7. ปิดสัญญาณไฟที่ปุ่ม Power
8. ถอดปลั๊กไฟเครื่องขยายเสียงเก็บให้เรียบร้อยเพื่อยืดอายุการใช้งาน
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. ควรเก็บในที่ปลอด ความร้อน ความชื้น และฝุ่นละออง
2. ไม่ควรใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เครื่องเสียได้
3. ขณะใช้เครื่องขยายเสียงต้องหมั่นตรวจสอบแรงเครื่องไฟฟ้าป้องกันอาการตกหรือมากเกินพิกัด

5. เครื่องบันทึกเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องบันทึกเสียงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟเครื่องบันทึกเสียง
3. เปิดสวิสท์ไฟด้านหลังเครื่อง เปิด - ปิด
4. รอให้เครื่องบันทึกเสียงทำงานสักครู่
5. ทดสอบการบันทึกโดยปรับปุ่มสัญญาณตามที่ต้องการ
6. กดปุ่มสัญญาณจากเครื่องบันทึกเสียง ที่ปุ่ม Record
7. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กดปุ่ม Pause
8. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กุดปุ่ม Stop
9. ปิดเครื่องโดยกดปุ่มสวิสท์เปิด – ปิด
10. ถอดปลั๊กไฟและดูแลความเรียบร้อยภายในห้องบันทึกเสียง

การดูแลรักษา

1. อย่าให้เครื่องถูกฝนหรือความชื้น เพื่อลดอุบัติเหตุจากไฟไหม้หรือไฟลัดวงจร
2. การควบคุมหรือการปรับ การทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในคู่มือ
3. อย่าวางเครื่องใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ
4. อย่าวางเครื่องใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางเครื่องในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซนเซียส (41องศาฟาเรนไฮ) หรือสูงกว่า 35 องศาเซนเซียส ( 95 องศาฟาเรนไฮ)
5. ควรวางเครื่องโดยให้ได้ระดับบนพื้นผิวราบและเรียบ
6. ควรวางเครื่องโดยให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะระบายความร้อนได้ดี โดยให้มีช่องว่างจากด้านหลังและด้านบนของเครื่อง 10 ซม. และด้านข้าง 5 ซม.
7. อย่าวางเครื่องบนเตียง พรม หรือบนพื้นผิวที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ้งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
8. อย่าวางเครื่องบนชั้นหนังสือ ในตู้เสื้อผ้า หรือในที่ที่เป็นกรอบแคบ ซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
9. ระวังอย่าให้วัตถุสิ่งของหรือของเหลวผ่านเข้าไปในช่องระบายความร้อนสู่ด้านในของตัวเครื่อง
10. เมื่อวางหรือตั้งเครื่องบนชั้นวางหรือแสตนด์ควรทำด้วยความระมัดระวัง การวางแรงเกินไปหรือวางบนพื้นไม่เรียบอาจทำให้เครื่องหรือชั้นวางพลิงคว่ำหล่นลงได้

6. กล้องวิดีโอ

วิธีการใช้
1. ตรวจสอบกล้องวิดีโอและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน โดยดูแบตเตอรี่และม้วนเทปวิดีโอ
2. เปิดกล้องที่ปุ่ม POWER
3. ตรวจสอบ หน่วยความจำของแผ่นเทปและแบตเตอรี่ว่าพอเพียงกับเราที่จะถ่ายหรือไม่
4. ปรับค่าต่าง ๆ ของกล้องถ้าไม่ชำนาญให้เลือกโหมด AUTO
5. ปรับโหมดกล้องให้อยู่ในโหมด CAMERA
6. หามุมมอองกล้อง
7. กดปุ่มบันทึก โดยส่วนใหญ่มีชื่อ REC.
8. ถ้าต้องการหยุดชั่วคราวกดปุ่ม PAUSE
9. ถ้าต้องการหยุดกดปุ่ม STOP
10. เมื่อบันทึกเสร็จแล้วกดปุ่ม POWER เพื่อปิดเครื่อง
11. การโหลดลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ควรศึกษากล้องแต่ละยี่ห้อว่าเป็นอย่างไร

การดูแลรักษากล้อง
1. หากไม่ได้ใช้กล้องเป็นเวลานานให้ถอดเทปออกจากกล้อง และเปิดเครื่อง ใช้งานกล้องในส่วน Camera หรือ VTR และเล่นเทปเป็นเวลานาน 3 นาที
2. ทำความสะอาดเลนส์ด้วยแปรงนุ่ม ๆ หากมีรอยนิ้วมือบนผิวเลนส์ให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ๆ
3. เช็ดทำความสะอาดตัวกล้องด้วยผ้าแห้งนุ่ม ๆ หรือชุบหมาด ๆ ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ อย่างใช้พวกน้ำยาละลายซึ่งอาจทำลายผิวเคลือบกล้องได้
4. ระวังอย่างให้ทรายเข้าไปในกล้อง เมื่อใช้กล้องบนชายหาดหรือไปในที่มีฝุ่นมาก ๆ ควรป้องกันฝุ่นและทรายไม่ให้เข้ากล้องเพราะอาจทำเกิดข้อบกพร่องในการทำงานซึ่งบางครั้งไม่อาจแก้ไขได้
5. เมื่อไม่ใช้งานให้ตั้งสวิตซ์ไปที่ off เสมอ

7. คอมพิวเตอร์
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบปลั๊กไฟคอมพิวเตอร์
3. เปิดปุ่มสวิสท์ ปุ่ม Power ปุ่มใหญ่
4. เปิดใช้งานโปรแกรมที่เราต้องการ
5. เมื่อใช้งานไปแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีอาการ Error ให้กดปุ่ม Reset ปุ่มเล็ก เพื่อใช้งานโปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง
6. เมื่อเลิกใช้งานโปรแกรมแล้วควรปิดโปรแกรมทุกโปรแกรมแล้วจึงปิดเครื่อง
7. ปิดเครื่องกดปุ่ม Start Turn off Computer
8. เลือกกดปุ่ม Turn Off
9. รอให้ไฟทำงานในคอมพิวเตอร์หยุดทำงานจึงถอดปลั้กให้เรียบร้อย
10. คลุมเครื่องป้องกันฝุ่นละออง

การดูแลรักษา
1. ควรติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรมสแกนไวรัส
2. หลังใช้งานเสร็จทุกครั้งควรปิดเครื่องอย่างถูกวิธีเพื่ออายุการใช้งาน
3. ไม่ควรนำอาหารมารับประทานใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
4. สแกนไวรัสทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจในการนำแผ่นดิสก์มาใช้
5. ใช้ผ้าคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่จะมารบกวน

8. กล้องดิจิตอล
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์กล้องดิจิตอลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ หน่วยความจำ และตัวกล้องเอง
2. เปิดกล้องโดยกดปุ่ม POWER
1. ปรับปุ่มค่าต่าง ๆ ตามเราต้องการถ้ายังไม่ชำนาญให้ปรับปุ่มไว้ที่ AUTO
2. ปรับปุ่มกล้องให้อยู่ในโหมดที่พร้อมถ่าย
3. หามุมมองในการถ่ายภาพที่เหมาะสม

แหล่งอ้างอิง http://adsadapong.212cafe.com/


วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

สื่อวัสดุ

.....สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคำว่า “วัสดุ” ตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุหมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาสื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดีบางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือสื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อวัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกคือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้
4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีคือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
5. การออกแบบวัสดุกราฟิกคือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ
6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
7.1.1.1 แผนภูมิต้นไม้
7.1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
7.13 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
7.1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
7.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
7..1.6 แผนภูมิแบบตาราง
7.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
7.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
7.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
7.2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
7.2.1 .2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
7.2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
7.2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
7.2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
7.3 แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
7.4 ภาพพลิก
7.5 ภาพชุด
7.6 แผนภาพ
7.7 ภาพโฆษณา
7.8 แผนโปร่งใสสื่อวัสดุ 3 มิติ
1. ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติหมายถึงสื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก2. ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
2.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง
52.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
2.4 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
2.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
2.3 แผ่นซีดี
2.4 แผ่นวีซีดี
2.5 แผ่นดีวีดี
2.6 แผ่นเอสวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง

แหล่งอ้างอิง http://www.blogger.com/profile/13568398757538227215

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น