นาฬิกา

สื่ออุปกรณ์

1. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

วิธีการใช้

1. นำเครื่องฉายมาวางหน้าชั้นเรียนในระยะห่างพอสมควร โดยหันด้านเลนศ์ฉายเข้าหาจอ
2. หากภาพใหญ่กว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายเข้าใกล้จอรับภาพ หากภาพเล็กกว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายออกห่างจากจอรับภาพ
3. เสียบปลั๊กไฟ 220 V. เข้ากับเต้าเสียบไฟบ้าน
4. เปิดสวิตช์พัดลมระบายอากาศ
5. เปิดสวิตช์หลอดฉาย
6. ปรับความคมชัดบนจอรับภาพ
7. ปรับมุมก้มเงยให้พอดี ปรับลำแสงให้ตั้งฉากกับจอรับภาพ แต่หากต้องการเลื่อนเครื่องฉายให้ปิดสวิตช์หลอดฉายก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันมิให้หลอดฉายขาด
8. ปิดสวิตช์หลอดฉายเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน แต่เปิดพัดลมระบายอากาศไว้จนกว่าเครื่องฉายจะเย็นลงแล้วประมาณ 5 นาที จึงปิดและถอดปลั๊กออกเพื่อเก็บเครื่องฉาย

การดูแลรักษา

1. ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องอย่างละเอียดก่อนใช้งาน2. ขณะใช้เครื่องฉาย ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเมื่อมีเด็กอยู่ใกล้3. ไม่ควรเปิด - ปิดสวิตช์หลอดฉายบ่อย เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของหลอดฉายสั้น
กว่าปกติ หรืออาจทำให้หลอดฉายขาดได้4. เครื่องฉายทุกชนิดมีความร้อน อย่าแตะต้องจุดที่มีความร้อนเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้5. สายไฟที่ใช้กับเครื่องฉายต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ขาดชำรุดหรือมีรอยขาดรั่ว6. ไม่แขวนสายไฟไว้ที่ขอบโต๊ะหรือวางสายไฟบนสิ่งที่มีความร้อน7. กรณีที่ใช้สายไฟต่อพ่วง ต้องใช้สายไฟที่มีขนาดพอเหมาะกับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ เครื่องต้องการใช้8. ก่อนดึงปลั๊กไฟออก ต้องแน่ใจว่าเครื่องฉายได้เปิดพัดลมระบายอากาศจนเครื่องเย็นลงจน เป็นปกติแล้ว9. อย่าให้เครื่องถูกน้ำ ละอองน้ำ ความชื้นและของเหลวทุกชนิดเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้า ลัดวงจร10. ไม่ควรถอดเครื่องซ่อมเองหรือแก้ไขเองหากขาดประสบการณ์

2.โปรเจคเตอร์

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าปกติอยู่ในสภาพการใช้งาน
2. เปิดเครื่องฉายโดยกดปุ่มที่ Power on
3. ทำการฉายภาพตามปกติ
4. การปิดเครื่องกดที่ปุ่มPower off โดยกด 2 ครั้งติดต่อกัน
5. รอให้เครื่องปิดจึงถอดปลั๊กได้
6. เก็บเครื่องฉายในกระเป๋าเก็บให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. คลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นจับเลนส์ และควรเก็บในที่ปลอดความชื้น
2. ทำความสะอาดเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสงด้วยกระดาษเช็ดเลนส์
3. ทำความสะอาดและหยอดน้ำมันแกนปรับหัวฉายและแกนมอเตอร์
4. ไม่ควรใช้เครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
5. เมื่อเลิกใช้ควรปิดสวิทช์หลอดฉายโดยไม่ถอดปลั๊กและปลอดให้พัดลมเครื่องทำงาน จึงเก็บเครื่อง

3. เครื่องเล่น CD VCD DVD

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบสภาพเครื่องเล่น CD VCD DVD อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟ
3. เปิดปุ่ม Power เพื่อทำการเปิดเครื่อง
4. ปรับสัญญาณภาพหรือเสียงให้ชัดเจน
5. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วปิดที่ปุ่ม Power
6. ถอดปลั๊กและเก็บวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อใช้เสร็จ ทิ้งให้เย็น และคลุมด้วยผ้าเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
2. หมั่นทำความสะอาดหัวอาดด้วยแปรงขนนุ่มปัดฝุ่น
3. ไม่ควรตั้งในที่อับชื้น
4. เครื่องขยายเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องขยายเสียงอยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบสายปลั๊กไฟ
3. เปิดสวิสท์ไฟที่ปุ่ม Power
4. ปรับเสียงสัญญาความดังตามที่ต้องการโดยปุ่ม Master จะปุ่มใหญ่สุดและควบคุมสัญญาเสียงออกทุกสัญญาณ
5. หากต้องการปรับเฉพาะไมล์ให้ปรับปุ่มสัญญาเล็ก
6. เมื่อใช้งานเสร็จให้ปรับปุ่มสัญญาณ Master ลงสุด
7. ปิดสัญญาณไฟที่ปุ่ม Power
8. ถอดปลั๊กไฟเครื่องขยายเสียงเก็บให้เรียบร้อยเพื่อยืดอายุการใช้งาน
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. ควรเก็บในที่ปลอด ความร้อน ความชื้น และฝุ่นละออง
2. ไม่ควรใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เครื่องเสียได้
3. ขณะใช้เครื่องขยายเสียงต้องหมั่นตรวจสอบแรงเครื่องไฟฟ้าป้องกันอาการตกหรือมากเกินพิกัด

5. เครื่องบันทึกเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องบันทึกเสียงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟเครื่องบันทึกเสียง
3. เปิดสวิสท์ไฟด้านหลังเครื่อง เปิด - ปิด
4. รอให้เครื่องบันทึกเสียงทำงานสักครู่
5. ทดสอบการบันทึกโดยปรับปุ่มสัญญาณตามที่ต้องการ
6. กดปุ่มสัญญาณจากเครื่องบันทึกเสียง ที่ปุ่ม Record
7. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กดปุ่ม Pause
8. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กุดปุ่ม Stop
9. ปิดเครื่องโดยกดปุ่มสวิสท์เปิด – ปิด
10. ถอดปลั๊กไฟและดูแลความเรียบร้อยภายในห้องบันทึกเสียง

การดูแลรักษา

1. อย่าให้เครื่องถูกฝนหรือความชื้น เพื่อลดอุบัติเหตุจากไฟไหม้หรือไฟลัดวงจร
2. การควบคุมหรือการปรับ การทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในคู่มือ
3. อย่าวางเครื่องใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ
4. อย่าวางเครื่องใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางเครื่องในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซนเซียส (41องศาฟาเรนไฮ) หรือสูงกว่า 35 องศาเซนเซียส ( 95 องศาฟาเรนไฮ)
5. ควรวางเครื่องโดยให้ได้ระดับบนพื้นผิวราบและเรียบ
6. ควรวางเครื่องโดยให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะระบายความร้อนได้ดี โดยให้มีช่องว่างจากด้านหลังและด้านบนของเครื่อง 10 ซม. และด้านข้าง 5 ซม.
7. อย่าวางเครื่องบนเตียง พรม หรือบนพื้นผิวที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ้งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
8. อย่าวางเครื่องบนชั้นหนังสือ ในตู้เสื้อผ้า หรือในที่ที่เป็นกรอบแคบ ซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
9. ระวังอย่าให้วัตถุสิ่งของหรือของเหลวผ่านเข้าไปในช่องระบายความร้อนสู่ด้านในของตัวเครื่อง
10. เมื่อวางหรือตั้งเครื่องบนชั้นวางหรือแสตนด์ควรทำด้วยความระมัดระวัง การวางแรงเกินไปหรือวางบนพื้นไม่เรียบอาจทำให้เครื่องหรือชั้นวางพลิงคว่ำหล่นลงได้

6. กล้องวิดีโอ

วิธีการใช้
1. ตรวจสอบกล้องวิดีโอและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน โดยดูแบตเตอรี่และม้วนเทปวิดีโอ
2. เปิดกล้องที่ปุ่ม POWER
3. ตรวจสอบ หน่วยความจำของแผ่นเทปและแบตเตอรี่ว่าพอเพียงกับเราที่จะถ่ายหรือไม่
4. ปรับค่าต่าง ๆ ของกล้องถ้าไม่ชำนาญให้เลือกโหมด AUTO
5. ปรับโหมดกล้องให้อยู่ในโหมด CAMERA
6. หามุมมอองกล้อง
7. กดปุ่มบันทึก โดยส่วนใหญ่มีชื่อ REC.
8. ถ้าต้องการหยุดชั่วคราวกดปุ่ม PAUSE
9. ถ้าต้องการหยุดกดปุ่ม STOP
10. เมื่อบันทึกเสร็จแล้วกดปุ่ม POWER เพื่อปิดเครื่อง
11. การโหลดลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ควรศึกษากล้องแต่ละยี่ห้อว่าเป็นอย่างไร

การดูแลรักษากล้อง
1. หากไม่ได้ใช้กล้องเป็นเวลานานให้ถอดเทปออกจากกล้อง และเปิดเครื่อง ใช้งานกล้องในส่วน Camera หรือ VTR และเล่นเทปเป็นเวลานาน 3 นาที
2. ทำความสะอาดเลนส์ด้วยแปรงนุ่ม ๆ หากมีรอยนิ้วมือบนผิวเลนส์ให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ๆ
3. เช็ดทำความสะอาดตัวกล้องด้วยผ้าแห้งนุ่ม ๆ หรือชุบหมาด ๆ ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ อย่างใช้พวกน้ำยาละลายซึ่งอาจทำลายผิวเคลือบกล้องได้
4. ระวังอย่างให้ทรายเข้าไปในกล้อง เมื่อใช้กล้องบนชายหาดหรือไปในที่มีฝุ่นมาก ๆ ควรป้องกันฝุ่นและทรายไม่ให้เข้ากล้องเพราะอาจทำเกิดข้อบกพร่องในการทำงานซึ่งบางครั้งไม่อาจแก้ไขได้
5. เมื่อไม่ใช้งานให้ตั้งสวิตซ์ไปที่ off เสมอ

7. คอมพิวเตอร์
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบปลั๊กไฟคอมพิวเตอร์
3. เปิดปุ่มสวิสท์ ปุ่ม Power ปุ่มใหญ่
4. เปิดใช้งานโปรแกรมที่เราต้องการ
5. เมื่อใช้งานไปแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีอาการ Error ให้กดปุ่ม Reset ปุ่มเล็ก เพื่อใช้งานโปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง
6. เมื่อเลิกใช้งานโปรแกรมแล้วควรปิดโปรแกรมทุกโปรแกรมแล้วจึงปิดเครื่อง
7. ปิดเครื่องกดปุ่ม Start Turn off Computer
8. เลือกกดปุ่ม Turn Off
9. รอให้ไฟทำงานในคอมพิวเตอร์หยุดทำงานจึงถอดปลั้กให้เรียบร้อย
10. คลุมเครื่องป้องกันฝุ่นละออง

การดูแลรักษา
1. ควรติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรมสแกนไวรัส
2. หลังใช้งานเสร็จทุกครั้งควรปิดเครื่องอย่างถูกวิธีเพื่ออายุการใช้งาน
3. ไม่ควรนำอาหารมารับประทานใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
4. สแกนไวรัสทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจในการนำแผ่นดิสก์มาใช้
5. ใช้ผ้าคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่จะมารบกวน

8. กล้องดิจิตอล
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์กล้องดิจิตอลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ หน่วยความจำ และตัวกล้องเอง
2. เปิดกล้องโดยกดปุ่ม POWER
1. ปรับปุ่มค่าต่าง ๆ ตามเราต้องการถ้ายังไม่ชำนาญให้ปรับปุ่มไว้ที่ AUTO
2. ปรับปุ่มกล้องให้อยู่ในโหมดที่พร้อมถ่าย
3. หามุมมองในการถ่ายภาพที่เหมาะสม

แหล่งอ้างอิง http://adsadapong.212cafe.com/


วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553




สื่ออุปกรณ์มี 3 ประเภท ได้แก่

1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น เครื่องสแกนภาพ (Scanner) เมาส์ คียบอร์ด
2. อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer) ลำโพง
3. อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร เช่น HUB, Network card และสายเคเบิล

เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์
ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ
นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน
กระดาษโดยตรง

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึงพิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์


3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งานกราฟิกที่คมชัดได้ด้วย


4. พล็อตเตอร์ (plotter)
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม


2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ ได้ดังนี้
1. Flatbed scanners
ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆสแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
2. Transparency and slide scanners ScanMaker
ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ มีดังนี้
SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด
สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCRจอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์ เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์
ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
- ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ - Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพ พวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ
- ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
- ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียด เท่าไร

อ้างอิงจาก
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsawan/adun_t/lession0203

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น