นาฬิกา

สื่ออุปกรณ์

1. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

วิธีการใช้

1. นำเครื่องฉายมาวางหน้าชั้นเรียนในระยะห่างพอสมควร โดยหันด้านเลนศ์ฉายเข้าหาจอ
2. หากภาพใหญ่กว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายเข้าใกล้จอรับภาพ หากภาพเล็กกว่าจอฉายให้เลื่อนเครื่องฉายออกห่างจากจอรับภาพ
3. เสียบปลั๊กไฟ 220 V. เข้ากับเต้าเสียบไฟบ้าน
4. เปิดสวิตช์พัดลมระบายอากาศ
5. เปิดสวิตช์หลอดฉาย
6. ปรับความคมชัดบนจอรับภาพ
7. ปรับมุมก้มเงยให้พอดี ปรับลำแสงให้ตั้งฉากกับจอรับภาพ แต่หากต้องการเลื่อนเครื่องฉายให้ปิดสวิตช์หลอดฉายก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันมิให้หลอดฉายขาด
8. ปิดสวิตช์หลอดฉายเมื่อเสร็จสิ้นการใช้งาน แต่เปิดพัดลมระบายอากาศไว้จนกว่าเครื่องฉายจะเย็นลงแล้วประมาณ 5 นาที จึงปิดและถอดปลั๊กออกเพื่อเก็บเครื่องฉาย

การดูแลรักษา

1. ศึกษาคู่มือการใช้เครื่องอย่างละเอียดก่อนใช้งาน2. ขณะใช้เครื่องฉาย ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเมื่อมีเด็กอยู่ใกล้3. ไม่ควรเปิด - ปิดสวิตช์หลอดฉายบ่อย เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของหลอดฉายสั้น
กว่าปกติ หรืออาจทำให้หลอดฉายขาดได้4. เครื่องฉายทุกชนิดมีความร้อน อย่าแตะต้องจุดที่มีความร้อนเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้5. สายไฟที่ใช้กับเครื่องฉายต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ขาดชำรุดหรือมีรอยขาดรั่ว6. ไม่แขวนสายไฟไว้ที่ขอบโต๊ะหรือวางสายไฟบนสิ่งที่มีความร้อน7. กรณีที่ใช้สายไฟต่อพ่วง ต้องใช้สายไฟที่มีขนาดพอเหมาะกับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ เครื่องต้องการใช้8. ก่อนดึงปลั๊กไฟออก ต้องแน่ใจว่าเครื่องฉายได้เปิดพัดลมระบายอากาศจนเครื่องเย็นลงจน เป็นปกติแล้ว9. อย่าให้เครื่องถูกน้ำ ละอองน้ำ ความชื้นและของเหลวทุกชนิดเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้า ลัดวงจร10. ไม่ควรถอดเครื่องซ่อมเองหรือแก้ไขเองหากขาดประสบการณ์

2.โปรเจคเตอร์

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าปกติอยู่ในสภาพการใช้งาน
2. เปิดเครื่องฉายโดยกดปุ่มที่ Power on
3. ทำการฉายภาพตามปกติ
4. การปิดเครื่องกดที่ปุ่มPower off โดยกด 2 ครั้งติดต่อกัน
5. รอให้เครื่องปิดจึงถอดปลั๊กได้
6. เก็บเครื่องฉายในกระเป๋าเก็บให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. คลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นจับเลนส์ และควรเก็บในที่ปลอดความชื้น
2. ทำความสะอาดเลนส์หรือกระจกเงาสะท้อนแสงด้วยกระดาษเช็ดเลนส์
3. ทำความสะอาดและหยอดน้ำมันแกนปรับหัวฉายและแกนมอเตอร์
4. ไม่ควรใช้เครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
5. เมื่อเลิกใช้ควรปิดสวิทช์หลอดฉายโดยไม่ถอดปลั๊กและปลอดให้พัดลมเครื่องทำงาน จึงเก็บเครื่อง

3. เครื่องเล่น CD VCD DVD

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบสภาพเครื่องเล่น CD VCD DVD อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟ
3. เปิดปุ่ม Power เพื่อทำการเปิดเครื่อง
4. ปรับสัญญาณภาพหรือเสียงให้ชัดเจน
5. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วปิดที่ปุ่ม Power
6. ถอดปลั๊กและเก็บวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. เมื่อใช้เสร็จ ทิ้งให้เย็น และคลุมด้วยผ้าเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
2. หมั่นทำความสะอาดหัวอาดด้วยแปรงขนนุ่มปัดฝุ่น
3. ไม่ควรตั้งในที่อับชื้น
4. เครื่องขยายเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องขยายเสียงอยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบสายปลั๊กไฟ
3. เปิดสวิสท์ไฟที่ปุ่ม Power
4. ปรับเสียงสัญญาความดังตามที่ต้องการโดยปุ่ม Master จะปุ่มใหญ่สุดและควบคุมสัญญาเสียงออกทุกสัญญาณ
5. หากต้องการปรับเฉพาะไมล์ให้ปรับปุ่มสัญญาเล็ก
6. เมื่อใช้งานเสร็จให้ปรับปุ่มสัญญาณ Master ลงสุด
7. ปิดสัญญาณไฟที่ปุ่ม Power
8. ถอดปลั๊กไฟเครื่องขยายเสียงเก็บให้เรียบร้อยเพื่อยืดอายุการใช้งาน
การดูแลรักษา มีขั้นตอนดังนี้
1. ควรเก็บในที่ปลอด ความร้อน ความชื้น และฝุ่นละออง
2. ไม่ควรใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เครื่องเสียได้
3. ขณะใช้เครื่องขยายเสียงต้องหมั่นตรวจสอบแรงเครื่องไฟฟ้าป้องกันอาการตกหรือมากเกินพิกัด

5. เครื่องบันทึกเสียง

วิธีการใช้

1. ตรวจสอบเครื่องบันทึกเสียงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เสียบปลั๊กไฟเครื่องบันทึกเสียง
3. เปิดสวิสท์ไฟด้านหลังเครื่อง เปิด - ปิด
4. รอให้เครื่องบันทึกเสียงทำงานสักครู่
5. ทดสอบการบันทึกโดยปรับปุ่มสัญญาณตามที่ต้องการ
6. กดปุ่มสัญญาณจากเครื่องบันทึกเสียง ที่ปุ่ม Record
7. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กดปุ่ม Pause
8. ถ้าต้องการหยุดบันทึกให้กุดปุ่ม Stop
9. ปิดเครื่องโดยกดปุ่มสวิสท์เปิด – ปิด
10. ถอดปลั๊กไฟและดูแลความเรียบร้อยภายในห้องบันทึกเสียง

การดูแลรักษา

1. อย่าให้เครื่องถูกฝนหรือความชื้น เพื่อลดอุบัติเหตุจากไฟไหม้หรือไฟลัดวงจร
2. การควบคุมหรือการปรับ การทำใด ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในคู่มือ
3. อย่าวางเครื่องใกล้น้ำหรือความชื้น เช่น ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ อ่างล้างมือ
4. อย่าวางเครื่องใกล้แหล่งความร้อน เช่น ช่องระบายความร้อน เตาไฟ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ให้กำเนิดความร้อน ไม่ควรวางเครื่องในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซนเซียส (41องศาฟาเรนไฮ) หรือสูงกว่า 35 องศาเซนเซียส ( 95 องศาฟาเรนไฮ)
5. ควรวางเครื่องโดยให้ได้ระดับบนพื้นผิวราบและเรียบ
6. ควรวางเครื่องโดยให้มีช่องว่างเพียงพอที่จะระบายความร้อนได้ดี โดยให้มีช่องว่างจากด้านหลังและด้านบนของเครื่อง 10 ซม. และด้านข้าง 5 ซม.
7. อย่าวางเครื่องบนเตียง พรม หรือบนพื้นผิวที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ้งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
8. อย่าวางเครื่องบนชั้นหนังสือ ในตู้เสื้อผ้า หรือในที่ที่เป็นกรอบแคบ ซึ่งไม่สามารถระบายอากาศได้ดี
9. ระวังอย่าให้วัตถุสิ่งของหรือของเหลวผ่านเข้าไปในช่องระบายความร้อนสู่ด้านในของตัวเครื่อง
10. เมื่อวางหรือตั้งเครื่องบนชั้นวางหรือแสตนด์ควรทำด้วยความระมัดระวัง การวางแรงเกินไปหรือวางบนพื้นไม่เรียบอาจทำให้เครื่องหรือชั้นวางพลิงคว่ำหล่นลงได้

6. กล้องวิดีโอ

วิธีการใช้
1. ตรวจสอบกล้องวิดีโอและอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน โดยดูแบตเตอรี่และม้วนเทปวิดีโอ
2. เปิดกล้องที่ปุ่ม POWER
3. ตรวจสอบ หน่วยความจำของแผ่นเทปและแบตเตอรี่ว่าพอเพียงกับเราที่จะถ่ายหรือไม่
4. ปรับค่าต่าง ๆ ของกล้องถ้าไม่ชำนาญให้เลือกโหมด AUTO
5. ปรับโหมดกล้องให้อยู่ในโหมด CAMERA
6. หามุมมอองกล้อง
7. กดปุ่มบันทึก โดยส่วนใหญ่มีชื่อ REC.
8. ถ้าต้องการหยุดชั่วคราวกดปุ่ม PAUSE
9. ถ้าต้องการหยุดกดปุ่ม STOP
10. เมื่อบันทึกเสร็จแล้วกดปุ่ม POWER เพื่อปิดเครื่อง
11. การโหลดลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ควรศึกษากล้องแต่ละยี่ห้อว่าเป็นอย่างไร

การดูแลรักษากล้อง
1. หากไม่ได้ใช้กล้องเป็นเวลานานให้ถอดเทปออกจากกล้อง และเปิดเครื่อง ใช้งานกล้องในส่วน Camera หรือ VTR และเล่นเทปเป็นเวลานาน 3 นาที
2. ทำความสะอาดเลนส์ด้วยแปรงนุ่ม ๆ หากมีรอยนิ้วมือบนผิวเลนส์ให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ๆ
3. เช็ดทำความสะอาดตัวกล้องด้วยผ้าแห้งนุ่ม ๆ หรือชุบหมาด ๆ ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ อย่างใช้พวกน้ำยาละลายซึ่งอาจทำลายผิวเคลือบกล้องได้
4. ระวังอย่างให้ทรายเข้าไปในกล้อง เมื่อใช้กล้องบนชายหาดหรือไปในที่มีฝุ่นมาก ๆ ควรป้องกันฝุ่นและทรายไม่ให้เข้ากล้องเพราะอาจทำเกิดข้อบกพร่องในการทำงานซึ่งบางครั้งไม่อาจแก้ไขได้
5. เมื่อไม่ใช้งานให้ตั้งสวิตซ์ไปที่ off เสมอ

7. คอมพิวเตอร์
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาพใช้งานได้
2. เสียบปลั๊กไฟคอมพิวเตอร์
3. เปิดปุ่มสวิสท์ ปุ่ม Power ปุ่มใหญ่
4. เปิดใช้งานโปรแกรมที่เราต้องการ
5. เมื่อใช้งานไปแล้วถ้าคอมพิวเตอร์มีอาการ Error ให้กดปุ่ม Reset ปุ่มเล็ก เพื่อใช้งานโปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง
6. เมื่อเลิกใช้งานโปรแกรมแล้วควรปิดโปรแกรมทุกโปรแกรมแล้วจึงปิดเครื่อง
7. ปิดเครื่องกดปุ่ม Start Turn off Computer
8. เลือกกดปุ่ม Turn Off
9. รอให้ไฟทำงานในคอมพิวเตอร์หยุดทำงานจึงถอดปลั้กให้เรียบร้อย
10. คลุมเครื่องป้องกันฝุ่นละออง

การดูแลรักษา
1. ควรติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรมสแกนไวรัส
2. หลังใช้งานเสร็จทุกครั้งควรปิดเครื่องอย่างถูกวิธีเพื่ออายุการใช้งาน
3. ไม่ควรนำอาหารมารับประทานใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
4. สแกนไวรัสทุกครั้งเมื่อไม่แน่ใจในการนำแผ่นดิสก์มาใช้
5. ใช้ผ้าคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่จะมารบกวน

8. กล้องดิจิตอล
วิธีการใช้
1. ตรวจสอบอุปกรณ์กล้องดิจิตอลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ หน่วยความจำ และตัวกล้องเอง
2. เปิดกล้องโดยกดปุ่ม POWER
1. ปรับปุ่มค่าต่าง ๆ ตามเราต้องการถ้ายังไม่ชำนาญให้ปรับปุ่มไว้ที่ AUTO
2. ปรับปุ่มกล้องให้อยู่ในโหมดที่พร้อมถ่าย
3. หามุมมองในการถ่ายภาพที่เหมาะสม

แหล่งอ้างอิง http://adsadapong.212cafe.com/


วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทัษณะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือขอจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น

4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลาสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ

Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2. วัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่นภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียงสื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
.....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
.....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
.....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
.....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
.....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่

.....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
.....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
.....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
.....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
.....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
.....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
.....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
.....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
.....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
.....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
.....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1. สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2. ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม